ปี 2013 เป็นปีที่ E-Commerce ของไทยเติบโตขึ้นอย่างมากด้วยปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น ประมาณของผู้ประกอบการที่กระโดดเข้าสู่การค้าออนไลน์เพิ่มมากขึ้นอย่างมาก คนไทยสามารถใช้บัตรเดบิตซื้อของไลน์ได้ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ถือบัตรถึง 42.2 ล้านใบเลยทีเดียว การมาของโครงข่าย 3G ที่กระจายไปทั่วประเทศ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยทีทำให้การค้าผ่านทางออนไลน์ของไทยเติบโตมากขึ้น 30% เลยทีเดียว (จากการประเมินของผมเอง) ทีนี้เรามาดูกันว่าปีหน้า 2014 จะมีเทรนด์อะไรบ้างในการค้าออนไลน์ของไทยที่เราควรจะรู้เพื่อนำมาเตรียมรับมือและปรับธุรกิจให้มีความพร้อมมากขึ้น
Like this:
Like Loading...
Had discussed with ETDA last month about Thailand E-Commerce Landscape 2013. Then I’m draft what elements that we have in E-Commerce industry in Thailand. Let’s check this image. Thanks A-Pao to draft this images.
Like this:
Like Loading...
เดียวนี้หลายคนชอบซื้อสินค้าออนไลน์ กันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะกระแสการเลือกซื้อตุ๊กตาเฟอร์บี้ทางออนไลน์ หรือโซเชี่ยลมีเดีย เพราะว่าถูกกว่า เร็วกว่า และหาซื้อที่อื่นไม่ได้แล้ว จึงเป็นช่องทางที่หลายๆ อยากจะสั่งซื้อกัน แต่หลายคนก็ยังกังวล และไม่ค่อยมั่นใจกับเว็บไซต์ หรือคนที่ขายผ่านทางโซเชี่ยลมีเดีย อย่าง เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือ อินสตาร์แกรม ว่างหากคุณซื้อไปแล้วและจ่ายเงินไปแล้ว คุณจะได้สินค้าหรือไม่ วันนี้ผมมีเทคนิคในการเลือกซื้อทางออนไลน์ เพื่อทำให้คุณมั่นใจมากขึ้น
Like this:
Like Loading...
การค้าบนโลกออนไลน์ของไทยตอนนี้เติบโตไปอย่างมาก โดยเฉพาะในปี 2012 ซึ่งถือว่าเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปมากเลยทีเดียว เป็นปีที่มีการพัฒนาระบบพื้นฐานที่สนับสนุนการค้าออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ได้แก่ การขนส่งสินค้าที่หลากหลายมากขึ้น ระบบชำระเงินที่หลากหลาย พฤติกรรมคนไทยที่เริ่มจับจ่ายซื้อของออนไลน์มากขึ้น และผู้ให้บริการ E-Commerce ที่เริ่มมีมากขึ้นจากปีก่อนๆ ผมมองว่ามันยังอยู่ในช่วงการเริ่มต้นเท่านั้น แต่หากเราจะลองมาดูว่าอะไรคือแนวโน้มหรือเทรนด์ของอีคอมเมิร์ซของประเทศไทยในปี 2013 จากประสบการณ์และมุมมองของผมเอง ผมว่ามันจะสร้างความได้เปรียบให้กับคุณได้มาเลยทีเดียวเชียวล่ะ หากคุณสามารถนำมันมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจของคุณได้ก่อนคนอื่นๆ
Like this:
Like Loading...
คุณเคยซื้อของออนไลน์กันไหมครับ? รู้ไหมตอนนี้คนไทยหลายๆ คนก่อนจะซื้อสินค้าอะไร มักจะเริ่มเปิดเว็บไซต์เพื่อเช็กราคาและหาข้อมูลสินค้าที่จะต้องการซื้อกันก่อน และส่วนใหญ่ก็ซื้อสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตเช่นเดียวกัน เพราะด้วยมีร้านค้าให้เลือกหลายร้าน ราคาที่มีความหลากหลายและถูกมากกว่าตามร้านค้าทั่วไป รวมถึงข้อมูลของสินค้าที่มีครบถ้วน รวมถึงสามารถเช็กความคิดเห็นของคนอื่นๆ ที่เคยซื้อสินค้าประเภทเดียวกันไปแล้ว ว่าใช้ไปแล่้วเป็นอย่างไรบ้าง ทำให้การตัดสินใจซื้อสินค้าชิ้นนั้นๆ ง่ายและสะดวกมากขึ้น ทำให้การซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์ของไทยเติบโตมากขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกเดือน และเริ่มขยายไปสู่การค้าทางมือถือ (Mobile Commerce) ที่สามารถซื้อสินค้าทางออนไลน์ผ่านทางอุปกรณ์พกพาอย่างมือถือกันได้ง่ายมากขึ้น กว่าจะมาถึงตรงนี้มาย้อนกลับดูการเติบโตของการค้าออนไลน์ของไทยกันว่าเป็นมาอย่างไรบ้าง
Like this:
Like Loading...
เป็นครั้งแรกที่ PayPal เปิดเผยถึงผลการศึกษา “ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการซื้อสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตและผ่านโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มและทัศนคติที่ตอกย้ำกิตติศัพท์คนไทยว่าเป็นขาช็อปตัวยงที่เชี่ยวชาญการช็อปออนไลน์เป็นอย่างดี จากผลการวิจัยของ PayPalซึ่งถูกจัดทำโดยบริษัท นีลเส็นพบว่า ในปี 2553 ขนาดของตลาดการซื้อสินค้าออนไลน์ของประเทศไทยมีมูลค่า 14.7 พันล้านบาท โดยมีจำนวนผู้ซื้อสินค้าออนไลน์คนไทยถึง 2.5 ล้านคน (อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป) มียอดใช้จ่ายเงินเฉลี่ยต่อคนถึง 13,181 บาท โดย 71% ของยอดรวมการซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ทั้งหมดมาจากกลุ่มชนที่มีรายได้ปานกลาง[1] ในประเทศไทย
Like this:
Like Loading...
วันนี้นั่งค้นหาข้อมูล E-Commerce ในต่างประเทศ เจอข้อมุลนี้น่าสนใจมากครับ
Like this:
Like Loading...
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาศไปงานเกี่ยวกับบริษัทเปิดใหม่ (Startup) ที่ประเทศอินโดนิเซียชื่องาน Startup Asia Jakrata และที่สิงค์โปร์ชืื่องาน Echelon 2012 ทั้งสองงานเป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมธุรกิจเกิดใหม่ทางด้านเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ แอพพิลเคชั่นบนมือถือ (Mobile Application) หรือเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีทั้งผู้ประกอบการใหม่ ที่เพิ่งเริ่มสร้างธุรกิจ และนักลุงทุน (Investor) ทั้งในรูปแบบ นักลงทุนขนาดเล็ก (Angle Fund) หรือ นักลงทุนขนาดใหญ่ (Venture Capital) แต่ละงานมีคนมาร่วมงานมากกว่า 500 คน และเป็นงานที่คนมาจากหลากประเทศทั่วเอเซีย เช่น สิงค์โปร์ อินโดนิเซีย มาเลย์เซีย ฟิลิปปินส์ เวียตนาม ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ กัมพูชา แต่จุดที่น่าสนใจงานนี้มีคนไทยไปน้อยมาก หรือบางงานอย่างที่ประเทศอินโดนิเซีย ไม่มีคนไทยไปเลย มีกลุ่มของผมเพียงกลุ่มเดียว ฟังดูแล้วค่อนข้างน่าตกใจเลยทีเดียว
Like this:
Like Loading...
เดียวนี้หลายคนตอนนี้เริ่มหันมาทำการค้าขายผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางเว็บไซต์ การค้าขายผ่านทางโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ก เฟซบุ๊ก (Facebook) ทวิตเตอร์ (Twitter) หรือแม้แต่ อินสตาร์แกรม (Instagram) หลายคนสามารถสร้างรายได้ๆ เดือนนึงหลายหมื่นหรือหลายแสนบาทกันเลยทีเดียว ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมากๆ ที่คนไทยหันมาใช้เทคโนโลยีเป็นช่องทางในการสร้างรายได้ให้กับตัวเอง หรือองค์กรมากขึ้น แต่มีหลายคนยังไม่รู้ว่า "เมื่อใดก็ตามที่คุณมีรายได้เกิดขึ้น คุณต้องมีหน้าที่ในการเสียภาษีให้กับรัฐ" ดังนั้นการขายสินค้าไม่ว่าจะเป็นช่องทางไหนๆ ก็ตาม ก็ถือว่าคุณมีรายได้ เช่น คุณเปิดแผงร้านขายเสื้อในตลาดนัด, เปิดร้านขายของภายในห้าง หรือแม้แต่การเปิดเว็บไซต์ขายสินค้า หรือช่องทางอะไรก็ตามที่คุณสร้างรายได้ๆ คุณมีหน้าที่ต้องเสียภาษี ดังนั้นการทำการค้าผ่านช่องทางออนไลน์แล้วต้องเสียภาษี จึงไม่ใช่เรื่องใหม่เลย เพียงแต่ว่าหลายๆ คนยังไม่รู้และเข้าใจกัน และบางส่วนก็อาจจะเข้าใจผิดว่าทางกรมสรรพกรเองจะมีการออกมาตรการ การเก็บภาษีเฉพาะคนทำการค้าออนไลน์ขึ้นมา ผมขอบอกเลยครับว่าทางกรมสรรพกรเค้าไม่มีมาตรการอะไรใหม่ขึ้นมาสำหรับการค้าทางออนไลน์เลยครับ
ผู้ที่ค้าขายต้องหน้าที่ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง
ผู้ที่ค้าขายไม่ว่าจะช่องทางไหน หรือผ่านช่องทางออนไลน์ต้องเสียภาษีภายใต้ประมวลกฎหมายรัษฎากรเหมือนธุรกิจอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น
1.) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล
2.) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
ซึ่งมีผลบังคับใช้กับทุกธุรกิจรวมถึงการค้าขายผ่านทางออนไลน์ด้วย ดังนั้นเมื่อมีลูกค้าสั่งซื้อเข้ามาเจ้าของเว็บไซต์ต้องเสียภาษีเงินได้ และเมื่อสินค้าส่งออกไปให้กับลูกค้า ลูกค้าที่สั่งซื้อก็ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ด้วย
ซึ่งการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล หากคุณมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ ดังนั้นเมื่อคุณขายสินค้าหรือบริการ คุณเองต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบด้วยว่ามีการภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อยู่ด้วย คุณจะรวมเข้าไปหรือแยกออกมาต่างหาก ก็แล้วแต่วิธีการของแต่ละคน และการซื้อขายสินค้าแต่ละครั้งจะมีการออกใบกำกับภาษีให้กับผู้ซื้อด้วย แต่หากรายรับจากการขายสินค้าหรือบริการต่ำกว่า 1.8 ล้านต่อปี คุณก็ไม่ต้องไปยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ทำให้คุณไม่ต้องไปคิด VAT เพิ่มกับลูกค้านะครับ
Like this:
Like Loading...
เดียวนี้หลายคนชอบซื้อสินค้าออนไลน์ กันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แต่หลายคนก็ยังกังวล และไม่ค่อยมั่นใจกับเว็บไซต์ หรือหน้าร้านค้าออนไลน์ที่คุณกำลังจะเลือกซื้อ ว่าหลังจากคุณซื้อสินค้าและจ่ายเงินไปแล้ว คุณจะได้สินค้าหรือไม่ วันนี้ผมมีเทคนิคในการเลือกซื้อ เพื่อทำให้คุณมั่นใจมากขึ้น
A.) เช็กจากเว็บไซต์ร้านค้า
- ชื่อเว็บไซต์น่าเชื่อถือหรือเปล่า พวกชื่อเว็บทีลงท้ายด้วย .cc ค่อนข้างน่ากลัวเพราะเป็นชื่อโดเมนที่แจกฟรี
- เช็กชื่อเว็บว่าชื่อเว็บนี้จดหรือตั้งมานานแล้วหรือยัง สำหรับ .com เช็กได้ที่ http://dawhois.com สำหรับขือเว็บที่ลงท้ายด้วย .th เช็กได้ที่ http://thnic.co.th/whois หากเว็บที่เปิดมานานแล้ว เกิน 6 เดือนขึ้นไป ก็จะมีความน่าเชื่อมากกว่าเว็บที่เพิ่งเปิดมาเพียงไม่กี่เดือน (ส่วนใหญ่เว็บที่หลอกลวงจะเปิดได้ในช่วงเวลาสั้นๆ)
- หากเป็นเว็บที่เปิดกับผู้ให้บริการที่มีชื่อเสียงก็จะมีความน่าเชื่อถือระดับนึง เพราะผู้ให้บริการจะมีการตรวจสอบร้านค้ามาก่อน เช่น http://ชื่อร้าน.tarad.com หากจะตรวจสอบก็ติดต่อกับผู้บริการได้เลย เพื่อตรวจสอบข้อมูลเจ้าของร้าน
- เช็กเว็บบอร์ดของเว็บไซต์ (หากมี) ดูว่ามีคนเข้าไปเขียนตอบอะไรบ้าง อัตราการโต้ตอบในเว็บบอร์ดเร็ว หรือกระทู้ล่าสุดที่่ตอบคือเมื่อวันไหน? เพราะหากเว็บบอร์ดถูกทิ้งไม่ได้ตอบไว้นาน หรือในเว็บบอร์ดมีแต่คนเข้าไปด่า แบบนี้ก็อย่าไปซื้อกับเว็บนั้นเลยครับ
- ตรวจสอบดูความใหม่ของสินค้าหน้าเว็บไซต์ และการอัพเดทเว็บไซต์ หากเว็บไซต์มีการอัพเดทเป็นประจำ เช่นมีสินค้าใหม่ๆ, มีการเปลี่ยนแปลงโปรโมชั่น การแปลี่ยนแปลงข่าวสารหน้าเว็บเป็นประจำ ก็แสดงให้เห็นว่าเจ้าของร้านดูแลหน้าเว็บไซต์เป็นประจำ ทำให้เรามั่นใจได้มากขึ้น
- ดูว่ามีลูกค้าที่เคยซื้อสินค้ากับร้านนี้หรือไม่ ลองเช็กได้ทางเว็บบอร์ดของทางร้าน (หากมี) หรือลอง email ติดต่อไปหาคนที่เคยซื้อไป ว่าบริการของร้านค้าเป็นอย่างไรบ้าง เราจะได้มั่นใจมากขึ้น
- ต้องระวังหากสินค้ารายการนั้นมีราคาถูกมากจนเกินไป (แบบไม่น่าเชื่อ) ต้องระวังให้ดี และยิ่งหากข้อ A และ B ด้านบนไม่ครบถ้วนในการตรวจสอบ ก็อาจจะเข้าข่ายน่ากลัวได้เช่นกัน
Like this:
Like Loading...
หลายคนที่เริ่มต้นเปิดเว็บไซต์ขึ้นมาใหม่ๆ อยากให้ลองอ่านตรงนี้ก่อนเลยครับ
1. ปรับปรุงเว็บให้สวยงามพร้อมรับกับการขายก่อน
เพราะ : หน้าตาเว็บที่ดูดี จะทำให้คนมั่นใจการซื้ิอสินค้ามากขึ้น อันนี้สำคัญ
2. เพิ่มจำนวนสินค้าให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ อย่างต่ำ ต้อง 20-30 รายการ หากสินค้าเราน้อยพยายามทำ Combination or Bundling product (ควบรวมสินค้าเข้าไปครับ)
เพราะ : ยิ่งสินค้าจำนวนเยอะๆ โอกาสที่ Search Engine จะเข้ามาเว็บเราก็มีมากเช่นกัน, และสินค้าจำนวนมากๆ โอกาสที่ลูกค้าจะอยู่ในเว็บเราจะกดดูต่อไปเรื่อยก็มีมากเช่นกันครับ
3. การใส่ข้อมูลสินค้า ต้องใส่ข้อมูลให้มากๆ หน้า ยาวๆ มีขั้นตอนการใส่ที่วางโครงสร้างของข้อมูลเอาไว้ เช่น คำเชิญชวน, ตัวอย่างลูกค้าที่เคยซื้อไป, ทำไมคุณถึงต้องซ้อ
เพราะ : ส่วนใหญ่เจ้าของร้านหลายคนมักเข้าใจว่า ลูกค้าจะเข้าใจข้อมูลสินค้าของตนอยู่แล้ว แต่จริงๆ ผิดเลยครับ เค้าไม่เข้าใจสินค้าคุณเท่าไรหรอก น้อยคนที่จะเข้าใจสินค้าคุณลึกๆ ดังนั้น คุณต้องเขียนอธิบายให้ครบถ้วน ให้เหมืนอคนที่ไม่เคยเห็นสินค้าคุณมาก่อน อ่านแล้ว "เข้าใจ" อ่านแล้ว "เกิดความต้องการอยากซื้อสินค้าของคุณ" จริงอยู่ที่การทำลักษณะนี้ มันต้อง "ใช้เวลาค่อนข้างมาก" ในการเตรียมข้อมูล และทำให้กับสินค้าแต่ละชิ้น "แต่หากคุณไม่ทำ โอกาสการขายของคุณก็จะน้อยลงเช่นกันครับ" ลองคิดดู หากคุณอยากจะซื้อสินค้าซักชิ้นจากเว็บไซต์เว็บนึง คุณเองก็ต้องอ่านข้อมูลสินค้านั้นๆ ให้เข้าใจและครบถ้วนก่อนใช้ไหมครับ ยกเว้นเสียแต่คุณรู้จักสินค้านั้นดีมาก่อนแล้ว ซึ่งมีน้อยมากครับ ลูกค้าที่เป็นลักษณะนั้น
และควรสอดแทรก keyword ของ สินค้าเข้าไปครับ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.pawoot.com/article/search-engine-marketing/497
Like this:
Like Loading...
อาเซียน บรรสาน หรือ Asean Harmonization คือ การปรับประสาน กฏระเบียบ เครื่องสำอาง ของประเทศอาเซียน 10 ประเทศ (ได้แก่ ไทย พม่า มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปินส์ บรูไน เขมร เวียดนาม ลาว) ให้สอดคล้องกัน นั่นคือ ทำให้ระเบียบเกี่ยวกับเครื่องสำอางของประเทศเหล่านี้ มีความสอดคล้องกันและเป็นที่ยอมรับซึ่งกันและกันได้ เมื่อมีการค้าขายเครื่องสำอางระหว่างประเทศเหล่านั้น
เรื่องนี้คณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณะสุขทำหน้าที่เป็นแม่งาน ในการประสานระเบียบเหล่านี้ กับประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 10 ประเทศ โดยประยุกต์จากบทบัญญัติเครื่องสำอางของสหภาพยุโรป(EU) ซึ่งกระบวนการนี้ทำให้บริษัทผู้ผลิตเครื่องสำอาง มีงานเอกสารจำนวนมหาศาลที่ต้องเตรียมปรับปรุงแก้ไข รวมถึงกระบวนการผลิต และพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติและการตกลงร่วมกันระหว่าง 10 ประเทศ ดังกล่าว
ดังนั้นหากสินค้าของเท่า จะต้องมีการขออนุญาติทาง อย. ต่อไปหากคุณสามารถผ่านได้ จะสามารถขายไปทั่ว อาเซียนได้เลย (ตลาดใหญ่ขึ้น) แต่ความยากก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน
Like this:
Like Loading...
ผมว่าคุณคงจะเป็นคนนึงที่เคยได้รับอีเมล์ที่ส่งมาบอกว่า "ทำงานที่บ้านได้ง่ายๆ รายได้เดือนเป็นแสน" หลายคนก็เริ่มตั้งคำถามกับตัวเองว่า "มันทำได้จริงๆ ไหม? แล้วรูปแบบมันเป็นอย่างไร? แล้วเราจะทำยังไงถึงจะสามารถสร้างรายได้จากการอินเทอร์เน็ตได้อย่างจริงๆ จังๆ?" ทั้งหมดนี้มักเป็นสิ่งที่หลายๆ คนคงอยากรู้หลังจากได้เห็นโฆษณาหรือ อีเมล์ชักชวนในการเริ่มต้นการหาเงินออนไลน์ เรามาดูกันว่ามันเป็นยังไงและทำอย่างไรเราถึงจะหาเงินออนไลน์ได้อย่างถูกวิธี
Like this:
Like Loading...